มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์(เอดส์เน็ท) สำนักงานภาคอีสาน เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ที่ทำงานด้านเอดส์มามากกว่า 17 ปี ดำเนินงานด้านการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาเรื่องเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สุขภาวะทางเพศ และวัณโรค ในพื้นที่ภาคอีสาน ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
วัตถุประสงค์
1) เพื่อประสานการระดมทรัพยากรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรองค์กร
เครือข่าย และกลไกในการทำงานด้านสุขภาพ
2) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการทำงาน
3) เพื่อดำเนินการและร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
4) ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” ปัญหาด้านสุขภาวะทางเพศเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญยิ่งกับเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสซึ่งโครงการหมายถึง เด็กและเยาวชนในสถานพินิจ เยาวชนในเรือนจำ เด็กและเยาวชนพิการทางหูหรือโสตศึกษา เด็กและเยาวชนพิการทางสายตาหรือการมองเห็น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) ทุกกลุ่มอายุโดยรวมอยู่ระหว่าง 8-25 ปี ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคตเช่นเดียวกันกับเด็กและเยาวชนทั่วๆไป โดยธรรมชาติของเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่อยากลอง อยากเรียนรู้ อยากค้นหาสิ่งใหม่ ประกอบการพัฒนาการด้านร่างกายย่างเข้าสู่วัยรุ่นที่พร้อมมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งช่วงวัยนี้จะเรียนรู้ และใกล้ชิดกับเพื่อน นำไปสู่ความเชื่อ ค่านิยมต่อเรื่องเพศที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้เกิดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การตีตราตนเองและไม่เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น การใช้ความรุนแรงทางเพศ มุมมองต่อเพศทางเลือก ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึงทั้งหมดส่งผลสุขภาวะทางเพศเชิงบวกของเด็กและเยาวชนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก 2. งานกระบวนการฝึกอบรม จากประสบการณ์ทำงานของมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) สำนักงานภาคอีสาน ได้มากว่า 17 ปี ใน 20 จังหวัดของภาคอีสาน บุคลากรมีทักษะและประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค สุขภาวะทางเพศ และกระบวนการวิจัยพาร์ (Participatory Action Research) ทั้งในประชากรคนไทยที่เป็นเด็กและเยาวชน ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน รวมถึงแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ(พม่า ลาว และกัมพูชา) ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้ดำเนินโครงการ GF หรือกองทุนโลกซึ่งทำงานมาตลอดระยะเวลา 5 ปี จำนวน 5 โครงการ สิ้นสุดการทำงาน เมื่อเดือนกันยายน 2557 และ รวมถึงได้เป็นทีมวิทยากรกระบวนการฝึกอบรมสุขภาวะทางเพศ ให้กับเด็กและเยาวชน และเด็กเยาวชนทั่วไปซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณ ให้เอดส์เน็ทเป็นทีมวิทยากรกระบวนการคือ 1. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ.ฯ (CCF) ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ประมาณ 45 รุ่น พื้นที่จ.สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ สกลนคร ขอนแก่น เลย ฯลฯ 2. มูลนิธิศุภนิมิต ประมาณ 15 รุ่น พื้นที่จ.หนองบัวลำภู ชัยภูมิ 3. เทศบาล ตำบลต่างๆ ได้แก่ ต.บ้านทุ่ม ต.สาวะถี ฯลฯ 4. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขนแก่น (สคร. 6) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น ดังนั้น จากประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิฯ ร่วมกับองค์กรภาคีในภาคอีสาน ที่เคยดำเนินงานในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั่วไป รวมถึงด้อยโอกาสบางส่วน ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสในพื้นที่ ภาคอีสาน ที่ยังไม่มีองค์กรใดขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสผ่านมา จึงทำให้มูลนิธิร่วมกับองค์กรภาคีร่วมมือกันดังกล่าว
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” ได้มีการมีกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบองค์กรภาคี โดยร่วมกับองค์กรภาคีในภาค อีสาน 7 องค์กรรวมเอดส์เน็ท ได้แก่ รูปแบบการทำงานโครงการย่อย โดยการปรับฐานคิดมุมมองในเรื่องเพศเชิงบวกให้คนทำงานที่ทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส การส่งเสริมให้เกิดพลัง การเห็นคุณค่าของตนเอง และเพื่อนเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส การพัฒนาศักยภาพคนทำงาน ได้แก่ การบริหารจัดการโครงการ การจัดทำระบบและรายงานการเงินบัญชี กระบวนการวางแผนและการติดตามประเมินผล การพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ พัฒนาสื่อเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส การพัฒนาหลักสูตรสุขภาวะทางเพศ รวมถึงการพัฒนารูปแบบการทำงานและนำมาสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณะ 2. งานกระบวนการฝึกอบรม 2.1 หลักสูตรการบริหารงานโครงการ หลักสูตรการบริหารและจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรการเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน หลักสูตรการเขียนรายงานเพื่อนำเสนอผลงาน หลักสูตรการการบริหารจัดการระบบการเงินและบัญชีของโครงการ หลักสูตรการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ หลักสูตรสุขภาวะทางเพศในชุมชน,โรงเรียน หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพแกนนำ 2.2 หลักสูตรสุขภาวะทางเพศ หลักสูตรเบื้องต้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น หลักสูตรเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลักสูตรการปรับเปลี่ยนฐานมุมมองเรื่องเพศเชิงบวก หลักสูตรการสร้างแกนนำสื่อสารเรื่องเพศในโรงเรียน หรือในชุมชน หลักสูตรการสื่อสารเรื่องเพศในโรงเรียน หรือในชุมชน หลักสูตรการให้คำปรึกษาเรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น หรือ ผู้ปกครอง หรือ คุณครู หลักสูตรการทำงานเรื่องเพศในโรงเรียน สำหรับผู้บริหารและคณะครูอาจารย์ หลักสูตรทักษะชีวิตและหลักสูตรสิทธิเด็ก
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” การปรับฐานคิดทัศนคติมุมมองต่อสุขภาวะทางเพศ คนทำงานทุกระดับ รวมถึงสร้างให้เด็กและเยาวน การส่งเสริมให้เกิดพลัง การเห็นคุณค่าของตนเอง และเพื่อนเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส การพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ พัฒนาสื่อเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส การ พัฒนาหลักสูตรสุขภาวะทางเพศ รวมถึงการพัฒนารูปแบบการทำงานและนำมาสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณะ 2. งานกระบวนการฝึกอบรม การพัฒนาคน แกนนำ หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างจากกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์ปัญหา รวมถึงกลุ่มที่มีความสนใจ ที่จะขับเคลื่อนการทำงาน หรือการพัฒนาแกนนำคนทำงาน ให้เกิดการขับเคลื่อนการทำงาน ry<แกนนำ ขยายให้ความรู้กับเพื่อน หรือถ่ายทอดความรู้ต่อ
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ที่มีความเป็นอยู่หลาหลายแตกต่างกันสถานพินิจ เยาวชนในเรือนจำ เด็กและเยาวชนพิการทางหูหรือโสตศึกษา เด็กและเยาวชนพิการทางสายตาหรือการมองเห็น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) เห็นคุณค่าตนเองและคนอื่น ตระหนักรู้สุขภาวะทางเพศเชิงบวก มีทักษะชีวิต นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมถึงการการใช้ความรุนแรงทางเพศ มุมมองต่อเพศทางเลือก ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 2. งานกระบวนการฝึกอบรม การพัฒนาหลักสูตร ที่ให้สอดคล้องเหมาะสมกับเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาแกนนำ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากเปลี่ยนความคิด เป็นการเปลี่ยนไปลงมือทำและปฏิบัติการ จากเยาวชน 1 คน เพิ่มเป็น 2 และ 3 คน หรือมากขึ้นตามลำดับเป็นกลุ่มเยาวชน
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ที่มีความเป็นอยู่หลาหลายแตกต่างกันสถานพินิจ เยาวชนในเรือนจำ เด็กและเยาวชนพิการทางหูหรือโสตศึกษา เด็กและเยาวชนพิการทางสายตาหรือการมองเห็น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) เห็นคุณค่าตนเองและคนอื่น ตระหนักรู้สุขภาวะทางเพศเชิงบวก 2. งานกระบวนการฝึกอบรม เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ รวมถึงพฤตกรรมการป้องกัน
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ที่มีความเป็นอยู่หลาหลายแตกต่างกันสถานพินิจ เยาวชนในเรือนจำ เด็กและเยาวชนพิการทางหูหรือโสตศึกษา เด็กและเยาวชนพิการทางสายตาหรือการมองเห็น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) เห็นคุณค่าตนเองและคนอื่น ตระหนักรู้สุขภาวะทางเพศเชิงบวก มีทักษะชีวิต นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมถึงการการใช้ความรุนแรงทางเพศ มุมมองต่อเพศทางเลือก 2. งานกระบวนการฝึกอบรม การพัฒนาแกนนำ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากเปลี่ยนความคิด เป็นการเปลี่ยนไปลงมือทำและปฏิบัติการ จากเยาวชนกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่ง และจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้เกิดการขยายในวงกว้างมากขึ้น ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ที่มีความเป็นอยู่หลาหลายแตกต่างกันสถานพินิจ เยาวชนในเรือนจำ เด็กและเยาวชนพิการทางหูหรือโสตศึกษา เด็กและเยาวชนพิการทางสายตาหรือการมองเห็น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) ใช้ชีวิตอยู่ใน สังคมอย่างมีความสุข ได้รับการยอมรับ ไม่ถูกตีตราจากสังคม ตลอดจนได้รับการยอมรับและร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม 2. งานกระบวนการฝึกอบรม เป็นกระบวนการที่เกิดการพัฒนาคน พัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสื่อที่เฉพาะ และมีความหลากหลายเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างเพศ ต่างวัยและอายุ ุส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงทักษะความเชี่ยวชาญของกลุ่มเป้าหมาย
1. “ โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ที่มีความเป็นอยู่หลาหลายแตกต่างกันสถานพินิจ เยาวชนในเรือนจำ เด็กและเยาวชนพิการทางหูหรือโสตศึกษา เด็กและเยาวชนพิการทางสายตาหรือการมองเห็น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ (เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) มีจำนวนเด็กและเยาวชน รวมถึงขยายกลุ่มเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 จังหวัดในภาคอีสาน ให้ขยายครอบคลุมภาคอีสาน และภาคอื่นๆ ในประเทศ 2. งานกระบวนการฝึกอบรม จำนวนการพัฒนาคนเพิ่มขึ้น พัฒนาหลักสูตรใหม่ๆที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนาสื่อที่เฉพาะกลุ่มได้เพิ่มขึ้น และ มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้จะส่งผบต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างเพศ ต่างวัยและอายุ ุได้วงกว้างครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสาน
พัฒนาศักยภาพเป็นระยะๆ ต่อเนื่อง พัฒนาทักษะที่มีความเฉพาะให้เกิดการเชี่ยวชาญมากขึ้น ทักษะการระดมทรัพยากรอย่างชาญฉลาด และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสังคมโดยรวม
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล รวมถึงการศึกษาดูงาน การร่วมพัฒนาศักยภาพจากองค์กรเครือข่าย การเสริมพลังระหว่างเครือข่าย สนับสนุนการทำงานระดมทรัพยาร่วมกัน เช่น งบประมาณ บุคลากร(วิทยากร) อุปกรณ์ เครื่องมือ และสื่อต่างๆ
กระบวนการระดมทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย ทักษะการจัดการองค์ความรู้ ทักษะการเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณะ
ทุนด้านงานบุคลากร และการบริหารจัดการภายในองค์กร ทุนการดำเนินงานกิจกรรมและการขับเคลื่อนงานโครงการ ทุนสนับสนุนปฏิบัติการย่อย เฉพาะกลุ่มเพื่อให้เกิดกระบวนการเข้าถึงเพื่อนของกลุ่มเป้าหมาย และนำไปสู่การขยายการทำงานต่อไป
ความเป็นมา มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) เป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ที่ไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความจำป็นที่จะต้องมีองค์กรในท้องถิ่นที่จะสานต่อและขยายผลรูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานด้านเอดส์ร่วมกันในลักษณะพหุภาคี ซึ่งเป็นรูปแบบและกระบวนการที่ผลักดันโดยโครงการไทย-ออสเตรเลียป้องกันเอดส์ภาคเหนือ (NAPAC) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก AusAID ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 - 2540 ทั้งชื่อ แนวทางการดำเนินงาน และ วัตถุประสงค์ของ มูลนิธิฯ กำหนดขึ้นในกระบวนการหารือร่วมกันระหว่างแกนนำการทำงานด้านเอดส์ในภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ และกลุ่มผู้ติดเชื้อ ที่ได้มาหารือกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539 และด้วยการสนับสนุนจาก AusAID เอดส์เน็ทได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิฯ กับคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และงานทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 โครงการเอดส์สหภาพยุโรป (EC) ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิฯในส่วนของงบประมาณด้านบุคลากรและการบริหารสำนักงานในช่วง 3 ปีแรกของการก่อตั้ง